วิธีขึ้นทะเบียนสวนป่า ปลูกพะยูง สักทอง เพื่อการค้าแบบถูกกฎหมาย!!
การปลูกไม้เชิงพาณิชย์เป็นการลงทุนชนิดหนึ่ง ที่ใช้เงินลงทุนน้อยและแทบไม่มีความผันผวนเลย ไม้อย่างเช่น ไม้สักทอง ราคาลบ.ม. ละประมาณ 30,000 บาท ไม้พะยุง ราคา ลบ.ม. ละประมาณ300,000-700,000 บาท (ประมาณการเฉลี่ยโดยคร่าวๆ จากที่ผู้เขียนหาข้อมูลมา) ซึ่งเป็นไม้ที่มีราคาสูงมาก ล่าสุดได้รายงานว่าต้นพะยูง 1 ต้น ขนาด 0.47 ลูกบาศก์เมตรที่มีอายุ 30 ปี นั้น รับซื้อกันในราคา 300,000 บาทกันเลยทีเดียว
หากมีที่ดินแค่ 1 ไร่ก็สามารถมีผลตอบแทบเป็นกอบเป็นกำ เห็นได้จากที่มีการลักลอบตัดไม้ในป่าสงวนกันชนิดที่จับกันไม่จบไม่สิ้น เพราะฉะนั้นคิดว่าราคาไม้ในอนาคตจะสูงขึ้นไปอีก ต้นไม้เหล่านี้เราแทบไม่ต้องดูแลอะไรมันมาก ต้นไม้เศษฐกิจเหล่านี้สามารถโตเองได้ตามธรรมชาติ อีกทั้งสามารถปลูกแซมไปกับพืชสวนไร่นาหรือปลูกรอบที่ดินก็ได้ จะได้เกิดการหมุนเวียนของรายได้จากที่ดิน มีรายได้จากที่ดินหลายๆทาง ดังนั้นการลงทุนในต้นไม้ก็เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงมาก ความผันผวนน้อย และมีการปันผลกลับมาในหลายรูปแบบตั้งแต่เริ่มปลูก อย่างเช่น
-อากาศบริสุทธิ์ที่ปันผลทุกวัน
-การกักเก็บน้ำ การคืนความอุดมสมบูรณ์ให้พื้นที่
-เป็นที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์เล็กสัตว์น้อย รวมทั้งให้ร่มเงา
-เป็นแหล่งอาหารเช่น เห็ดเผาะที่ชอบขึ้นบริเวณที่มีต้นยางนาและขายได้ราคาดี
นอกจากนี้ ระหว่างที่ต้นไม้โตเราสามารถขายไม้ตัดสางหรือไม้ที่ลำต้นบิดงอไม่ได้ตามต้องการไปก่อนได้ ทำให้มีรายได้ระหว่างนั้น ทั้งนี้การทำสวนป่าก็ต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ส่วนใหญ่มักจะ 20 ปี ขึ้นไป ซึ่งในยุคที่อะไรดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ผู้คนมีความอดทนรอคอยลดลงทำให้คนส่วนใหญ่มักคิดว่านานเกินไป แต่ 20 ปีไม่นานเกินรอในช่วงชีวิตนี้ และควรเริ่มทำตั้งแต่เนิ่นๆ อย่างน้อยก็ใช้เป็นทุนเกษียณและทุนการศึกษาลูกได้เป็นอย่างดี ซึ่งขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนทำสวนป่ามีดังนี้
คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอเพื่อเป็น “ผู้ทำสวนป่า”
1.มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนนั้น
2.ผู้มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในที่ดิน(ทำหนังสือขออนุญาติใช้ประโยชน์ในที่ดิน)
3.กรณีเช่าที่ดิน ต้องมีสัญญาเช่าพร้อมหนังสือยินยอมผู้ให้เช่า
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน
1.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน โดยเมื่อยื่นแล้วผู้ยื่นคำขออาจดำเนินการไปก่อนได้
2.ชนิดไม้ที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าได้ตามกฎหมาย คือ “เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ” ซึ่งถ้าไม่ใช่ก็ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียน ได้แก่
ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวน ซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่รัฐมนตรี จะได้รับอนุญาตในกรณีพิเศษ
* ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้าม ประเภท ก.
* ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติม
1.มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนนั้น
2.ผู้มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในที่ดิน(ทำหนังสือขออนุญาติใช้ประโยชน์ในที่ดิน)
3.กรณีเช่าที่ดิน ต้องมีสัญญาเช่าพร้อมหนังสือยินยอมผู้ให้เช่า
ขั้นตอนการขึ้นทะเบียน
1.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน โดยเมื่อยื่นแล้วผู้ยื่นคำขออาจดำเนินการไปก่อนได้
2.ชนิดไม้ที่ขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าได้ตามกฎหมาย คือ “เป็นไม้หวงห้ามตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ” ซึ่งถ้าไม่ใช่ก็ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียน ได้แก่
ก. ไม้หวงห้ามธรรมดา ซึ่งการทำไม้จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ข. ไม้หวงห้ามพิเศษ ไม้หายากหรือไม้ที่ควรสงวน ซึ่งไม่อนุญาตให้ทำไม้ เว้นแต่รัฐมนตรี จะได้รับอนุญาตในกรณีพิเศษ
* ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดเป็นไม้หวงห้าม ประเภท ก.
* ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติม
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของที่ดินด้วย
-ที่ดินโฉนด ไม้หวงห้ามคือไม้สักและไม้ยางเท่านั้น
-ที่ดินประเภทอื่นที่อยู่ภายใต้ประราชบัญญัติป่าไม้ ไม้หวงห้ามคือ ไม้สักและไม้ยาง รวมถึงไม้อีก 171 ชนิด ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530
สรุปได้ว่าที่ดินที่มีโฉนดถ้าไม่ได้ปลูกไม้สักและไม้ยางนาก็ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนก็ได้ แต่ถ้าเป็นที่ประเภทอื่น ต้องพิจารณารายชื่อไม้อีก 171 ชนิด ว่าไม้ที่ปลูกอยู่ในรายชื่อนั้นหรือเปล่า
-ที่ดินโฉนด ไม้หวงห้ามคือไม้สักและไม้ยางเท่านั้น
-ที่ดินประเภทอื่นที่อยู่ภายใต้ประราชบัญญัติป่าไม้ ไม้หวงห้ามคือ ไม้สักและไม้ยาง รวมถึงไม้อีก 171 ชนิด ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2530
สรุปได้ว่าที่ดินที่มีโฉนดถ้าไม่ได้ปลูกไม้สักและไม้ยางนาก็ไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนก็ได้ แต่ถ้าเป็นที่ประเภทอื่น ต้องพิจารณารายชื่อไม้อีก 171 ชนิด ว่าไม้ที่ปลูกอยู่ในรายชื่อนั้นหรือเปล่า
เอกสารและหลักฐานประกอบการขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า
1.แบบคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า (สป.1)
2.สำเนาทะเบียนบ้าน
3.สำเนาบัตรประชาชน
4.กรณีเป็นผู้ขออนุญาติใข้ประโยชน์ในที่ดินต้องมีหนังสือยินยอมทำประโยชน์
5.สำเนาหลักฐานที่ดิน เพื่อแสดงว่า ที่ดินดังกล่าวผู้ยื่นคำขอ เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
6.แผนที่สังเขป แสดงที่ตั้ง เขตติดต่อและแนวเขตที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า
ขั้นตอนการดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและการออกหนังสือรับรอง
1.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสวนป่า
2.รอเจ้าหน้าที่พนังงานดำเนินเรื่องการขึ้นทะเบียน
3.พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปทำการตรวจสอบสถานที่ตั้งและสภาพที่ดินและเสนอผลการตรวจสอบ
4.นายทะเบียนแจ้งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนสวนป่าและออกหนังสือรับรอง
1.แบบคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า (สป.1)
2.สำเนาทะเบียนบ้าน
3.สำเนาบัตรประชาชน
4.กรณีเป็นผู้ขออนุญาติใข้ประโยชน์ในที่ดินต้องมีหนังสือยินยอมทำประโยชน์
5.สำเนาหลักฐานที่ดิน เพื่อแสดงว่า ที่ดินดังกล่าวผู้ยื่นคำขอ เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครองหรือสิทธิ์ใช้ประโยชน์ในที่ดินนั้น
6.แผนที่สังเขป แสดงที่ตั้ง เขตติดต่อและแนวเขตที่ดินที่ขอขึ้นทะเบียนเป็นสวนป่า
ขั้นตอนการดำเนินการขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่าและการออกหนังสือรับรอง
1.ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสวนป่า
2.รอเจ้าหน้าที่พนังงานดำเนินเรื่องการขึ้นทะเบียน
3.พนักงานเจ้าหน้าที่ออกไปทำการตรวจสอบสถานที่ตั้งและสภาพที่ดินและเสนอผลการตรวจสอบ
4.นายทะเบียนแจ้งรับหรือไม่รับขึ้นทะเบียนสวนป่าและออกหนังสือรับรอง
“ทั้งนี้กรมป่าไม้ เปิดลงทะเบียนสวนป่าผ่านระบบออนไลน์แล้ว ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม 2560”
รายละเอียดเพิ่มเติม >> กรมป่าไม้ เปิดลงทะเบียนสวนป่าผ่านระบบออนไลน์
อ้างอิง
http://www.forest.go.th/chiangrai_2/index.php option=com_content&view=article&id=314&Itemid=422&lang=th
ที่มา http://commentfun.com/2017/11/27/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%9B/
ที่มา http://www.payuseedsshop.com/article/17/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B8%B6%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%9E%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น